วันจันทร์ที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2551

ภูมิปัญยาท้องถิ่น


ครกกระเดื่องติดเครื่องจักร
ลักษณะและวิธีการใช้

ครกกระเดื่องเป็นครกที่ใช้ประโยชน์ในการตำข้าว เปลือกเพื่อให้เป็นข้าวสารมารับประทาน เป็นเทคโนโลยีขั้น พื้นฐานอำนวยความสะดวกเพื่อดำรงชีวิต ครกกระเดื่องนอก จากจะใช้ตำข้าวแล้ว ยังใช้ตำแกลบหรือ เปลือกข้าวให้เป็นรำข้าวใช้เลี้ยงสัตว์ ตำแป้ง ขนมจีน ฯลฯ นับว่าเป็นเครื่องมือที่เป็นประโยชน์และ ไม่สิ้นเปลืองค่าใช้จ่าย ทั้งยังเป็นการออก กำลังกายให้แข็งแรง ประหยัดเงินทองไม่ต้องจ้าง โรงสีสีซ้อมข้าว พร้อมกันนั้นก็ยังได้ ปลายข้าว รำข้าว เป็นผลิตผลพลอยได้ตามมา

อย่างไรก็ตาม การตำข้าวโดยใช้แรงมนุษย์ ที่ต้องการข้าวซึ่งเป็นผลผลิตปริมาณมากและภาย ใต้เงื่อนไขเวลาที่จำกัดไม่อาจทำได้ จึง ได้เกิดภูมิปัญญาชาวบ้านคิดค้นนำเครื่องจักร กล จากเครื่องยนต์สูบน้ำจากเครื่องยนต์รถไถ เดินตาม มาประกอบเข้ากับอุปกรณ์อีกชุดหนึ่งเพื่อ หมุนวงล้อให้สัมผัสกับปุ่มยกแขนครกกระเดื่อง ให้ขึ้น - ลงแทนแรงคน

ครกกระเดื่องติดเครื่องจักรเป็นที่นิยมกันในกลุ่ม ผู้ประกอบอาชีพตำข้าวเม่าขาย ในช่วงฤดูข้าวออก รวงใหม่ที่เรียกว่า "ข้าวตั้งท้อง" หรือ "ข้าวกำลังเม่า" ผู้ที่ประกอบอาชีพตำข้าวเม่า ขาย จะนำข้าวที่ตั้งท้องเป็นเม่ามาใส่ กะทะคั่วให้สุกพอประมาณ แล้วใส่ครกตำ ให้เป็นเม็ดแบน เอาเปลือกออกแล้วนำไปขาย เป็นข้าวเม่าภายในช่วง เวลาที่ต้องจำหน่ายให้ผู้ บริโภคในวันหนึ่ง ๆ ให้หมด หากทิ้งข้ามวัน ข้าวเม่าจะไม่หอมไม่เหมาะแก่การบริโภค ครกกระเดื่อง ติดเครื่องจักร จึงเข้ามาแทนแรงงานคนได้ อย่างเหมาะสม
ประโยชน์


1. การลงทุนต่ำ ครกกระเดื่องติดเครื่องจักร มีราคาไม่สูงนัก ประกอบด้วยครกกระเดื่องที่มี อยู่แล้ว1-2 ใบ ต่อแขนให้ยาวพอ ประมาณ ต่อกับอุปกรณ์ที่ประกอบขึ้นและตัวมอเตอร์ที่ ใช้กำลังจากน้ำมันเชื้อเพลิงดีเซล
ส่วนประกอบที่สำคัญ เช่น
ห่วง ขนาด 18" 2 ตัว เพลาราง 2 ตัว ตุ๊กตาและลูกปืน 4 ตัว
เหล็กฉาบ 1 เส้น มู่เล่ 6" 1 ตัว เหล็กแผ่น 1 แผ่น
อุปกรณ์เหล่านี้นำมาเชื่อม-ประกอบต่อกับแกน มอเตอร์ จากเครื่องยนต์สูบน้ำ หรือเครื่องยนต์จากรถ ไถเดินตาม ก็สามารถขับเคลื่อนให้ครกกระเดื่องทำงาน ได้ค่าอุปกรณ์ต่าง ๆ รวมทั้งสิ้นประมาณ 2,400 บาท ( ไม่นับเครื่อง ยนต์สูบน้ำหรือรถไถเดิม ตามซึ่งมีอยู่แล้ว )
ประสิทธิภาพการใช้งานสูง

ครกกระเดื่องติดเครื่องจักร สามารถทำงานได้ยาวนานหลาย ชั่วโมงต่อเนื่องกัน จากการศึกษาการทำงาน ระหว่าง 08.00-22.00 น. จะสิ้น เปลืองน้ำมันดีเซลเพียง 40 บาท
ได้ผลกำไรคุ้มค่า


จากการศึกษาจากเกษตรกรรายหนึ่งพบว่า เมื่อปลูก ข้าวได้ 90 วันใน ปริมาณ 3 ไร่ จะได้ข้าวเปลือก ประมาณ 60 หมื่น ( 1 หมื่น = 12 กิโลกรัม ) นำ ข้าวเปลือกครึ่งหนึ่ง ( 30 หมื่น ) มาตำเป็นข้าวเม่า ขายจะได้เงินประมาณ 8,000 บาท ส่วนข้าวที่เหลือ อีกครึ่งหนึ่งจะปล่อยให้เมล็ดแก่เพื่อเก็บไว้ รับประทาน จึงนับว่าเป็นรายได้ที่งดงาม ใน ปัจจุบันข้าวเม่าขายในท้องตลาดราคากิโลกรัมละ 100 บาท

การปลูกข้าวเพื่อขายเป็นข้าวเม่าจึงนับว่ามี รายได้สูงกว่าการปลูกข้าวขาย แต่ทั้งนี้ ผู้ผลิตต้องรู้จักการนำพันธ์ข้าวชนิดต่าง ๆ ที่มีอายุสั้น-ปานกลาง-ยาว มา ปลูกเป็นช่วง ๆ เพื่อให้สามารถเก็บเกี่ยวเมล็ดข้าว เป็นระยะ ๆยาวนาน นำมาตำเป็นข้าวเม่าจำหน่าย แต่ สิ่งที่สำคัญคือ ครกตำข้าวซึ่งจะช่วยผ่อน แรงคนให้สามารถตำข้าวได้ตลอด เวลา ผู้ประกอบ ธุรกิจจะสามารถส่งข้าวเม่าสู่ตลาดจำหน่ายให้บริโภคได้ ต่อวัน

ครกกระเดื่องติดเครื่องจักร จึงเป็นเทคโนโลยีพื้นบ้านที่ สำคัญอย่างหนึ่งในสังคมการเกษตรกรในภาคอีสาน

ไม่มีความคิดเห็น: